ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บุโรพุทโธ
คำสำคัญ : ราชวงศ์ไศเลนทร์, บุโรพุทโธ
ชื่อหลัก | บุโรพุทโธ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | ไม่ปรากฏ |
รัฐ/แขวง | ไม่ปรากฏ |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -7.608 Long : 110.204 |
ประวัติการสร้าง | บุโรพุทโธ เป็นสถูปในพุทธศาสนามหายานที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย สร้างขึ้นโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ผู้นับถือพุทธศาสนามหายาน ซึ่งเป็นระยะเดียวกับการสร้างจันทิปะวนและจันทิเมนดุรต |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | สถูปประกอบไปด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนห้าชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยทางประทักษิณที่มีภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนามหายานประดับ แต่ละด้านยังปรากฏซุ้มจระนำประดิษฐานพระธยานิพุทธทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านปรากฏพระธยานิพุทธในมุทราต่างๆกันออกไป เช่น พระอักโษภยะแสดงปางมารวิชัยทางด้านทิศตะวันออก พระรัตนสัมภวะแสดงปางประทานพรทางด้านทิศใต้เป็นต้น ด้านบน มีฐานเขียงกลมประดิษฐานสถูปโปร่งบรรจุพระไวโรจนะซึ่งแสดงปางปฐมเทศนาและสถูปทึบตรงกลางซึ่งมหายถึงพระอาทิพุทธ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนกลาง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 14 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | บุโรพุทโธสร้างขึ้นตามระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ด้วยเหตุนี้ จึงกำหนดให้ฐานด้านล่างสุดตรงกับกามภูมิอันเป็นภูมิของคนที่มัวเมาในกิเลส มีพระมานุษิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าประจำภูมิ ถัดมาได้แก่ฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมตรงกับรูปภูมิ ซึ่งยังคงเป็นภูมิที่ต้องการรูป มีพระธยานิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าประจำภูมิ ถัดขึ้นไปด้านบนสุดเป็นฐานเขียงกลมที่ประดิฐานสถูป ฐานส่วนนี้ตรงกับอรูปภูมิซึ่งพระอาทิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าประจำภูมิ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ภูมิต่างๆ ยังถูกแสดงด้วยภาพเล่าเรื่องกล่าวคือ กามภูมิสมลักภาพตามคัมภีร์กรรมวิภังค์ อันแสดงถึงคนที่มัวเมาในกิเลส และคัมภีร์ลลิตวิสตระ อันแสดงถึงเรื่องพุทธประวัติของพระศรีศากยมุนี พระมานุษิพุทธในกามภูมิ ถัดขึ้นไปปรากฏภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร อันแสดงภาพความพยายามแสวงหาทางหลุดพ้นของพระสุธน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |