ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง
คำสำคัญ : โขง, ซุ้มโขง, โขงประตู, ปราสาท
ชื่อเรียกอื่น | โขงวัดพระธาตุลำปางหลวง |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดพระธาตุลำปางหลวง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ลำปางหลวง |
อำเภอ | เกาะคา |
จังหวัด | ลำปาง |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.217315 Long : 99.389365 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 541168.7 N : 2014272.45 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | 2014272.45 |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในคราวที่มีการบูรณะพระธาตุลำปางหลวงครั้งใหญ่ ในพ.ศ.2106 |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ซุ้มประตูโขงก่อด้วยอิฐฉาบปูน ช่องทางเข้ามีลักษณะเป็นวงโค้ง ตัวอาคารอยู่ในผังยกเก็จ ส่วนยอดของโขงประกอบด้วยชุดหลังคาลาดซ้อนชั้นลดหลั่นกันในผังยกเก็จ ประดับลวดลายปูนปั้นรูปนาคที่หน้าบัน ประดับมุมอาคารด้วยลวดลายปูนปั้นที่เรียกว่า ลายเครือล้านนา ในตำแหน่งกาบบน กาบล่าง ประจำยามอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายลายฉลุโปร่ง ตัวลายประกอบด้วยลายคดโค้ง มีลายดอกโบตั๋นประกอบด้วยก้านใบ ลวดลายเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากเครื่องถ้วยจีนและเป็นที่นิยมในการประดับสถาปัตยกรรมในล้านนา โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าของวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นอาคารทรงปราสาทที่เรียกกันว่า โขง แสดงถึงความเป็นเรือนฐานันดรสูง อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของประตูทางเข้าวัดในศิลปะล้านนา มีรูปแบบที่ใกล้เคีงกับ กู่ หรืออาคารทรงปราสาทสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป การสร้างโขงเพื่อเป็นประตูทางเข้าเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงว่าวัดหรือศาสนสถานซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นเปรียบเสมือนศูนย์กลางจักรวาล การที่พุทธศาสนิกชนได้ผ่านทางเข้าที่เป็นอาคารทรงปราสาทจึงเปรียบเสมือนได้ขึ้นไปบนสวรรค์ พบจารึกที่วัดพระธาตุลำปางหลวงที่กล่าวถึงการบูรณะพระธาตุลำปางหลวงและพระเจ้าล้านทองในปี พ.ศ.2019 |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20-21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | รูปแบบคล้ายกันกับโขงหรือกู่พระเจ้าล้านทองซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปประธานในพระวิหารหลวง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-09 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ตำนานพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ตำนานพระแก้วมรกต และตำนานเจ้าเจ็ดตน. ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง, 2552. ศิลปากร, กรม.การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. |