ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มณฑปพระสี่อิริยาบถ
คำสำคัญ : วัดพระสี่อิริยาบถ, พระสี่อิริยาบถ
ชื่อเรียกอื่น | พระสี่อิริยาบถ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดพระสี่อิริยาบถ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | หนองปลิง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | กำแพงเพชร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 16.501321 Long : 99.51453 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 554911.73 N : 1824460.07 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | แกนกลางของวัด |
ประวัติการสร้าง | วัดพระสี่อิริยาบถไม่มีประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบของมณฑปประธานที่คล้ายคลึงกับวัดพระเชตุพนเมืองสุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจากรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธลักษณะของพระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ ความนิยมทำพระพุทธรูปลีลา ทำให้กำหนดอายุการสร้างได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้วัดแห่งนี้ยังอาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วย |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | พ.ศ. 2508 ได้ขุดแต่งที่ฐานวิหารใหญ่ ตัววิหาร วิหารน้อย โบสถ์ มณฑปพระสี่อิริยาบถ และกำแพงแก้วล้อมรอบมณฑป นอกจากนี้ยังได้ทำการบูรณะฐานวิหารใหญ่ ตัววิหาร มณฑปพระสี่อิริยาบถ |
ลักษณะทางศิลปกรรม | สภาพปัจจุบันของมณฑปพระสี่อิริยาบถเหลือให้เห็นเฉพาะศิลาแลงที่เป็นแกนกลางของมณฑป หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องพังทลายลงแล้ว ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูประทับนอน และด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง พระพุทธรูปทั้งสี่องค์เป็นงานก่ออิฐฉาบปูนแบบนูนสูง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | มณฑปพระสี่อิริยาบถแห่งนี้มีความคล้ายคลึงกับมณฑปวัดเชตุพนเมืองสุโขทัยเป็นอย่างมาก จนทำให้เชื่อได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน ประเด็นดังกล่าวนี้สามารถนำไปต่อยอดและศึกษาร่วมกับหลักฐานอื่นๆ ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองสุโขทัยได้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | อยุธยา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20-21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. วัดเชตุพน เมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เพราะมีรูปแบบคล้ายกัน โดยเป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ 4 อิริยาบถ อยู่บนแกนอิฐเดียวกัน 2. วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เพราะมีรูปแบบคล้ายกัน กล่าวคือ เป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์อยู่บนแกนอิฐเดียวกัน แต่ที่นี่ยังทำไม่ครบสี่อิริยาบถ โดยพระพุทธรูปไสยาสน์ถูกสร้างออกมาทางด้านหน้า และไม่มีพระพุทธรูปนั่ง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-06-08 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | คณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2508 – 2512. พระนคร: กรม, 2514. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2542. |