ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

เจดีย์ชเวดากอง

คำสำคัญ : พระเกศธาตุ, เจดีย์ชเวดากอง, พระนางชินสอบู, พระเจ้าธรรมเจดีย์

ชื่อหลักเจดีย์ชเวดากอง
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองย่างกุ้ง
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 16.798056
Long : 96.149722

ประวัติการสร้างจากจารึก เจดีย์ชเวดากองในรูปแบบปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยพระนางชินสอบูและพระเจ้าธรรมเจดีย์ในพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีการชั่งน้ำหนักทองคำเท่าน้ำหนักของกษัตริย์และปิดลงบนเจดีย์ อย่างไรก็ตาม เจดีย์ชเวดากองมีความศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว โดยเชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้า
ลักษณะทางศิลปกรรมเจดีย์มอญมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือ แผนผังเป็นสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมขนาดใหญ่ ฐานลาดเอียง ไม่มีบันไดขึ้นและลานประทักษิณด้านบน รวมถึงสถูปิกะมักประดับอยู่ด้านล่างเสมอ และมีปลีที่ยืดยาวเหมือนปลีกล้วย ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากเจดีย์แบบพม่าแท้ทุกประการ ส่วนองค์ระฆังซึ่งประดับไปด้วยรัดอกและบัวคอเสื้อ การไม่มีบัลลังก์และ “ปล้องไฉนห่างๆ” ซึ่งมีปัทมบาทรองรับปลีนั้น กลับเป็นลักษณะร่วมกับเจดีย์แบบพม่าแท้
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะหงสาวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องตำนานเจดีย์ชเวดากอง กล่าวว่า พ่อค้าปฐมอุบาสกสองคน คือตปุสสะและภัลลิกะ ภายหลังที่ได้ถวายข้าวสัตตูแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ประทานพระเกศธาตุแก่พ่อค้า จากนั้น พ่อค้าได้นำพระบรมธาตุลงเรือลงมาประดิษฐานไว้ที่เมืองย่างกุ้ง โดยพระเจ้าโอกกาละปะ กษัตริย์เมืองย่างกุ้งในขณะนั้นได้อุปถัมภ์การสร้างเจดีย์ ตำนานระบุว่า เจดีย์องคืนี้สร้างบนเนินเขาที่มีชื่อว่า “สิงคคุตตระ” ซึ่งประดิษฐานสี่งสำคัญของพระอดีตพุทธเจ้าสามพระองค์มาก่อน คือ ไม้เท้าของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ ที่กรองน้ำของพระพุทธเจ้าโกณาคมนะและผ้าอาบน้ำฝนของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี