ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธสิหิงค์
คำสำคัญ : วัดพระสิงห์, พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระที่นั่งพุทไธสวรรย์, พระพุทธสิหิงค์, ศิลปะล้านนา, พระเจ้าเก้าตื้อ
ชื่อหลัก | พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.757822 Long : 100.492067 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661313.07 N : 1521442.51 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปประธานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้อัญเชิญลงมาจากเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2338 และประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางสมาธิ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก อุษณีษะทรงสูง รัศมีเป็นเปลวไฟค่อนข้างสูง พระเนตรหรี่เหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายสมส่วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งบนฐานบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระพุทธรูปศิลปะล้านนาองค์สำคัญที่เคยเชื่อว่าเป็นศิลปะสุโขทัย |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่เป็นลักษณะที่พบมากในพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเมืองแก้ว และพบได้ทั่วไปในศิลปะอยุธยา แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอยุธยาในศิลปะล้านนา |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปที่มีรูปแบบเดียวกันกับพระพุทธสิหิงค์และมีประวัติว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระเมืองแก้ว 2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างของพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์เช่นเดียวกับพระเจ้าเก้าตื้อและมีจารึกที่ฐานระบุปีที่สร้าง คือ พ.ศ. 2040 แสดงว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเมืองแก้วเช่นกัน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร: กรมศิลปากร, 2510. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “พระพุทธสิหิงค์”. ใน พระพุทธสิหิงค์ “จริง” ทุกองค์ ไม่มี “ปลอม” แต่ไม่ได้มาจากลังกา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2548. |