ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปราสาทวัดเจ้าจันทร์
คำสำคัญ : วัดเจ้าจันทร์, ปราสาทวัดเจ้าจันทร์, วัดศรีสวาย, บายน, ศาลตาผาแดง, ลพบุรี
ชื่อหลัก | วัดเจ้าจันทร์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ศรีสัชนาลัย |
อำเภอ | ศรีสัชนาลัย |
จังหวัด | สุโขทัย |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.42822 Long : 99.805137 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 585429.46 N : 1927149.73 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | อาคารประธานภายในวัดเจ้าจันทร์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักสามารถเทียบได้กับศาสนสถานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยของพระองค์เช่นกัน |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ศิลาแลง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ประกอบด้วยปราสาทประธานก่อด้วยศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม และมีปูนฉาบประดับตกแต่งผิว ฐานชั้นล่างสุดเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงาย ที่เรือนธาตุมีซุ้มประกอบทั้งสี่ด้าน มีประตูทางเข้าด้านหน้าทางทิศตะวันออกเพียงทางเดียวด้านหน้ามีห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ส่วนด้านอื่นๆ ตกแต่งเป็นประตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นชุดเครื่องบนของปราสาทสอบคล้ายรูปพุ่มและมีกลศประดับเป็นเครื่องยอด ต่อมาในสมัยสุโขทัย ศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา โดยการถมบริเวณโดยรอบของฐานปราสาท ทำให้ฐานชุดบัวคว่ำ-บัวหงายจมอยู่ใต้ดิน แล้วจึงสร้างวิหารศิลาแลงขึ้นที่ด้านหน้าของปรางค์ปราสาทพร้อมกับมณฑปศิลาแลงสำหรับประดิษฐานพระอัฏฐารศขึ้นทางทิศเหนือของปรางค์ ในมณฑปมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์แนบลำพระองค์ ๑ องค์ หลังคาที่เป็นเครื่องไม้ได้ผุพังไป พบเพียงชิ้นส่วนของกระเบื้องดินเผาสำหรับมุงหลังคาตกกระจายอยู่โดยรอบ ต่อมากรมศิลปากรได้ขุดพบพระพิมพ์ทำด้วยชิน ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ และเมื่อขุดลึกลงไปอีกในระดับลึกพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เครื่องถ้วยหริภุญไชย ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนโครงกระดูกคน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นหลักฐานศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรที่อยู่เหนือสุดเท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นหลักฐานว่าเมืองศรีสัชนาลัยเคยอยู่ภายใต้กระแสธารของวัฒนธรรมเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มาก่อนที่จะกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์หรือพุทธมหายาน และอาจปรับเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนสถานเถรวาทในสมัยสุโขทัย |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-14 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ทำเนียบโบราณสถานศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2535. สุรเดช วิชิตจารุกุล. พัฒนาการเมืองเชลียง : การศึกษาจากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์ และข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี. สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (โบราณคดี))มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542. |