ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ทับหลังแบบถาลาบริวัต

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ทับหลัง, วัดทองทั่ว, ทับหลังแบบถาลาบริวัต, ถาลาบริวัต

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในห้องศิลปะร่วมแบบเขมร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง

กระบวนการสร้าง/ผลิต

การแกะสลักหิน

ลักษณะทางศิลปกรรม

มีสภาพชำรุดโดยมีบางส่วนนั้นหักหายไป ส่วนที่เหลือนั้นแสดงภาพหัวมกรขนาดใหญ่คายวงโค้งออกมาหนึ่งวง วงโค้งนี้มีลายประคำประดับอยู่สองข้าง ตรงกึ่งกลางของทับหลังมีลายวงรูปไข่หรือวงรูปเหรียญขนาดใหญ่วงเดียวมีรูปครุฑยุดนาคอยู่ภายใน วงรูปเหรียญมีขอบขมวดเป็นลายก้นหอยแทนลายลูกประคำ ครุฑซึ่งอยู่ภายในวงรูปเหรียญนี้มีใบหน้าเหมือนบุคคลไว้ผมเป็นขมวด สวมตุ้มหูเป็นห่วงกลมขนาดใหญ่ รูปร่างอ้วนท้องพลุ้ย คาดเข็มขัดมีชายผ้าห้อยอยู่ด้านหน้าและใช้มือยุดนาคเศียรเดียวสองตัวด้วยมือแต่ละข้าง ส่วนขานั้นทำเลียนแบบขาของนกอยู่บนขอบวงรูปเหรียญ ทางเบื้องล่างใต้วงโค้งซึ่งออกมาจากปากของมกรและวงรูปเหรียญจำหลักเป็นลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงอุบะ โดยที่อุบะพวงกลางใต้วงรูปเหรียญมีขนาดใหญ่กว่าอุบะพวงอื่นๆ ซึ่งเป็นลายอุบะแบบเก่าที่นิยมใช้บนทับหลังแบบถาลาบริวัติรุ่นแรกๆ

สกุลช่างร่วมแบบถาลาบริวัต
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ทับหลัง (หรือหน้าบัน) ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของทับหลังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย สะท้อนให้เห็นว่าภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมรมาแล้วตั้งแต่แรกเริ่มสมัยก่อนเมืองพระนคร

ข้อสังเกตอื่นๆ

ทับหลังแบบถาลาบริวัตที่พบในวัดทองทั่ว จันทบุรี นี้มีจำนวน 2 ชิ้น ปัจจุบันย้ายมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 1 ชิ้น และยังคงอยู่ที่วัดทองทั่ว 1 ชิ้น

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะลพบุรี, ถาลาบริวัต
อายุครี่งแรกพุทธศตวรรษที่ 12
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพราหมณ์
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. ทับหลังแบบถาลาบริวัต วัดทองทั่ว จันทบุรี

2. ทับหลังแบบถาลาบริวัต เขาพลอยแหวน จันทบุรี

3. ทับหลังแบบถาลาบริวัต วัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-06-14
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

สมิทธิ ศิริภัทร์และมยุรี วีระประเสริฐ. ทับหลัง.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. "ทับหลังแบบถาลาบริวัตในประเทศไทย" โบราณคดี. ปีที่ 4 เล่มที่ 1 (กรกฎาคม 2515), หน้า 11 - 17.

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว.,บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ: โครงการสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542.