ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
คำสำคัญ : ถนนราชดำเนิน, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ชื่อหลัก | ถนนราชดำเนิน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | เสาชิงช้า |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.756701 Long : 100.501851 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 1521323.49 N : 662371.86 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กลางถนนราชดำเนินกลาง |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นตามดำริของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลได้จัดการประกวดการออกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ โดยแบบที่ได้รับรางวัลและนำมาจัดสร้างคือแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง และนายสิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย์ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นประติมากรรมลอยตัว สิ่งสำคัญคือ รัฐธรรมนูญซึ่งมีลักษณะเป็นสมุดไทยประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพปูนปั้นนูนต่ำ และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมาเป็นเสาแล้วคล้องโซ่เชื่อมต่อกัน โดยองค์ประกอบต่างๆของอนุสาวรีย์มีความหมายดังนี้
|
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รูปแบบของอนุสาวรีย์เป็นผลงานของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ที่ชนะการประกวดออกแบบในงานที่รัฐบาลจัดขึ้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย และได้ใช้เป็นพื้นที่เพื่อแสดงสัญลักษณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยในการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งตั้งแต่แรกสร้างอนุสาวรีย์มาจนถึงปัจจุบัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | การเมือง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | มาลินี คุ้มสุภา.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไม่เห็น. กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2548. สุทธิรัตน์ แก้วอาภรณ์. “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย : ในบริบททางศิลปกรรม” (การศึกษาโดยเสรีในแขนงวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2548.) |