ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
คำสำคัญ : พระบรมมหาราชวัง, วังหลวง, พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
ชื่อหลัก | พระบรมมหาราชวัง |
---|---|
ชื่ออื่น | วังหลวง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.749333 Long : 100.493821 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661508.21 N : 1520506.52 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมกำแพงพระบรมมหาราชวังทิศตะวันออก |
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2327 เดิมเรียกว่า "พลับพลาสูง" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างใหม่เป็นพระมหาปราสาท พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งสุทไธสวรรย์" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ.2396 และพระราชทานนามใหม่ว่า "พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท" และโปรดเกล้าฯ ให้นับเป็นพระที่นั่งในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ที่ทรงสร้างเป็นพระราชฐานที่ประทับแห่งใหม่ในพระบรมมหาราชวังแทนหมู่พระมหามณเฑียรพระเฉลียงไม้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 ในรัชกาลปัจจุบันเพื่อเป็นสีหบัญชรสำหรับเสด็จออกให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบจัตุรมุข โดยมีมุขด้านเหนือและใต้ที่ขยายให้ยาวกว่ามุขตะวันออกและตะวันตก ด้านหน้าที่มุขตะวันออกมีสีหบัญชรสำหรับเสด็จออกมหาสมาคม ด้านหลังของพระที่นั่งใช้บันไดประชิดซึ่งเป็นบันไดที่ขนานไปกับตัวอาคารและมีราวบันไดเพียงข้างเดียวสำหรับเป็นบันไดขึ้นสู่พระที่นั่ง โดยมีช่องประตูเตี้ยๆ ใต้บันไดเพื่อเข้าสู่ใต้ชั้นต่ำของพระที่นั่ง หลังคาซ้อนชั้นประกอบด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้อง 2 สี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบันไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกสี ส่วนกลางของหลังคาจัตุรมุขประดับเครื่องยอดแบบพระมหาปราสาท |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เป็นพระมหาปราสาทขนาดใหญ่ที่มีความยาวทอดตัวไปบนกำแพงพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างประตูเทวาพิทักษ์กับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ในอดีตเป็นสถานที่เสด็จทอดพระเนตรพระราชพิธีสำคัญที่จัดขึ้นทางด้านตะวันออกของพระนคร เช่น พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและทอดพระเนตรกระบวนแห่พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน ซึ่งเป็นพิธีสวนสนามแสดงความพร้อมด้านกำลังพลและสรรพาวุธ เพื่อให้เป็นที่เกรงขามแก่ศัตรูหมู่ปัจจามิตร และเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร ในรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทเนื่องในโอกาสสำคัญ 2 ครั้ง คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเมื่อทรงแจ้งพระราชดำริในการเสด็จออกบรรพชา |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ศิลปะในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคนอื่น ๆ. สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง. กรงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, 2531. สำนักพระราชวัง. พระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ: สำนักพระราชวัง, 2547. |