ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เสาชิงช้า
คำสำคัญ : เสาชิงช้า, โบสถ์พราหมณ์
ชื่อหลัก | โบสถ์พราหมณ์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | เสาชิงช้า |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.751822 Long : 100.501278 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662312.68 N : 1520784.91 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ลานหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2327 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ไม้สักทองแกะสลัก |
ประวัติการอนุรักษ์ | ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายเสาชิงช้าจากที่เดิมคือบริเวณถนนดินสอมาอยู่ที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม และมีการซ่อมแซมเสาชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2502 ได้บูรณะและทำพิธียกเกี้ยวยอดตั้งบนเสาชิงช้า และทาสีใหม่ พ.ศ.2513-2515 รัฐบาลและกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่เนื่องจากเสาหลักและเสาตะเกียบชำรุดทุกส่วนจากการกัดกินของแมลงและปลวก โดยจัดพิธีรื้อเสาเก่าลงและตั้งเสาใหม่ขึ้น พ.ศ.2525 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับปรุงลานเสาชิงช้า เนื่องในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2549 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเปลี่ยนเสาชิงช้าต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุด โดยใช้ไม่สักทองจากจังหวัดแพร่ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าให้เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492 |
ขนาด | สูง 21.15 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เสาชิงช้าตั้งอยู่บนฐานกลมมีบันไดทางขึ้น ตัวเสาประกอบด้วยเสาหลัก 2 ต้น แต่ละต้นขนาบด้วยเสาตะเกียบหัวเม็ดทรงมัณฑ์ที่โคนต้นละ 2 เสา ด้านบนมีแนวคานสำหรับคล้องชิงช้า ส่วนบนสุดประดับยอดเกี้ยวหูช้างแกะสลักเป็นลวดลายดอกพุดตานและพรรณพฤกษา ทาสีแดงชาดโดยตลอด |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เสาชิงช้าตั้งอยู่บริเวณหน้าโบสถ์พราหมณ์ ใกล้กับวัดสุทัศนเทพวราราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายหลังจากสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 2 ปี เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ที่เรียกว่า พิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ซึ่งพิธีนี้ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง โดยจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปีเนื่องจากถือเป็นช่วงขึ้นปีใหม่ในศาสนาพราหมณ์ แม้ว่าได้ล้มเลิกพิธีนี้ไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 แต่เสาชิงช้ายังคงตั้งตระหง่านเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพิธีสำคัญของบ้านเมืองและยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีความงดงามและมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน ใกล้กันเป็นที่ตั้งของโบสถ์พราหมณ์ 3 หลัง สำหรับประดิษฐานเทพเจ้า ได้แก่ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระนารายณ์ เทวสถานพระพิฆเนศวร |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์ |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | พิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | เสาชิงช้า เมืองนครศรีธรรมราช |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. 225 ปี กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2552. สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้าพุทธศักราช2549. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551. |