ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วัดบวรสถานสุทธาวาส
คำสำคัญ : วัดบวรสถานสุทธาวาส, วัดพระแก้ววังหน้า, วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ชื่อเรียกอื่น | วัดพระแก้ววังหน้า |
---|---|
ชื่อหลัก | สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
ชื่ออื่น | วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.759543 Long : 100.491553 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661257.35 N : 1521633.28 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
ประวัติการสร้าง | เดิมที่ตั้งของวัดเป็นอุทยานในที่ประทับของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 1 แต่ได้ทรงอุทิศพื้นที่สร้างเป็นวัด ต่อในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ได้รื้อวัดทำเป็นสวนกระต่าย ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาสเป็นพุทธบูชาแต่ยังไม่แล้วเสร็จก็ทิวงคต พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ดำเนินการสร้างต่อมาแต่ก็เสด็จสวรรคตเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการต่อจนเรียบร้อยและมีพระราชดำริให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส เนื่องจากแต่เดิมพระพุทธสิหิงค์เคยประดิษฐานในพระบวรราชวังหรือวังหน้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททิวงคต ก็ได้ย้ายพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการนี้จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ไว้ภายในพระอุโบสถด้วย |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง |
ประวัติการอนุรักษ์ | บูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2480 และ พ.ศ.2505 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระอุโบสถ วัดบวรสถานสุทธาวาสเป็นอาคารแบบไทยประเพณี ก่ออิฐถือปูน แผนผังแบบจัตุรมุข มีเสาพาไลทรงสี่เหลี่ยมโดยรอบอาคาร เครื่องหลังคาซ้อนชั้นมุงกระเบื้องสีเขียวและส้ม ประดับช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง และนาคเบือน หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ปิดทองประดับกระจกสี ตัวอาคารมีทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ด้านตะวันออก เหนือ และใต้ ด้านละ 3 ประตู ส่วนด้านตะวันตกมี 2 ประตู บานประตูหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักลายแก้วชิงดวง ปิดทองประดับกระจก ซุ้มเหนือของประตูประดับด้วยลวดลายปูนปั้น โดยรอบพระอุโบสถมีลานระเบียงและกำแพงแก้วล้อมรอบ พนักประดับด้วยกระเบื้องปรุ หัวเสายอดเม็ดทรงมัณฑ์ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | วัดบวรสถานสุทธาวาส เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดพระแก้ววังหน้า เนื่องจากมีฐานะเป็นวัดประจำพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า อันเป็นแนวคิดเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่เป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวัง หรือวังหลวง โดยทั้ง 2 แห่งเป็นวัดประจำวังจึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเช่นเดียวกัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า ทำให้วัดบวรสถานสุทธวาสชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออาคารอื่นลง โดยคงเหลือเฉพาะพระอุโบสถไว้และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระอุโบสถเป็นพระเมรุพิมานเพื่อใช้เป็นที่ตั้งพระศพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายอีกหลายพระองค์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24-25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | ตำนานวังหน้า จิตรกรรมฝาผนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | จิตรกรรมฝาผนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-06-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | เกษร อินทร์ขำ, เรียบเรียง. จิตรกรรมฝาผนังวัดบวรสถานสุทธาวาส (พระแก้ววังหน้า). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2557. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานวังหน้า. กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2553. |