ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลักเมืองกรุงเทพฯ
คำสำคัญ : ศาลหลักเมือง, หลักเมืองกรุงเทพ, เสาหลักเมือง
ชื่อเรียกอื่น | เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ |
---|---|
ชื่อหลัก | ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.752555 Long : 100.494021 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661531.4 N : 1520866.62 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ |
ประวัติการสร้าง | เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ต้นแรกสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 โดยมีพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 และได้บรรจุดวงชะตาพระนครไว้ภายใน เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2395 เนื่องจากเสาเดิมชำรุด โดยมีพิธีผูกดวงชะตาเมืองขึ้นใหม่แล้วจารึกในแผ่นทองคำบรรจุไว้ภายในเสา และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปเทวดาประดิษฐานที่ยอดเสา |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง |
ประวัติการอนุรักษ์ | พ.ศ.2492 บูรณะปรับปรุงศาลหลักเมืองครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2509 กระทรงการคลังได้ประกาศขึ้นทะเบียนราชพัสดุ พ.ศ.2518 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานศาลหลักเมือง ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 วันที่ 17 มิถุนายน 2518 พ.ศ.2525-2529 คณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมือง เสาหลักเมืองทั้ง 2 ต้น สิ่งสำคัญต่างๆ ภายในศาลหลักเมือง และอาคารโดยรอบ เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี |
ขนาด | ความสูง 4.160 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนเสา 29 เซนติเมตร ฝังลึก 25 เซนติเมตร สูงจากพื้นอาคาร 3.910 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เสาหลักเมืองที่สร้างในรัชกาลที่ 1 เป็นเสาทรงกระบอกสอบขึ้น ส่วนโคนเสามีขนาดใหญ่กว่าส่วนปลายยอดเสาเป็นรูปดอกบัวตูม เสาทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ฐานเสาเป็นรูปกลีบบัว ลงรักปิดทองคำเปลวโดยตลอด เสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ปิดทองทึบทั้งต้น ยอดเสาเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจก ฐานเสาทำด้วยไม้สัก เป็นรูปกลีบบัวฐานสิงห์หกเหลี่ยมปิดทองประดับกระจก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร 2 ต้น โดยต้นแรกเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ยอดเสารูปดอกบัวตูม เป็นเสาที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ประกอบพิธีบรรจุดวงชาตาไว้ภายใน ส่วนอีกต้นเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากทรงพระราชดำริว่า เสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 นั้นได้ชำรุดไปตามกาลเวลา และได้ทรงผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนประสบความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสืบไป โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้เชิญแผ่นทองคำจารึกดวงชาตาที่ทรงผูกขึ้นใหม่บรรจุที่ยอดเสาหลักเมืองและได้ทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระหลักเมืองเข้าประดิษฐานในรูปเทวดาบนยอดหลักเมืองต้นใหม่ โดยในปัจจุบันไม่ปรากฏรูปเทวดาหรือพระหลักเมืองที่เคยประดิษฐานบนยอดเสาเหมือนในอดีต |
ข้อสังเกตอื่นๆ | เสาหลักเมืองต้นเดิมที่สร้างในรัชกาลที่ 1 ได้รับการบูรณะในรัชกาลปัจจุบัน มีความสูง 4.160 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนเสา 29 เซนติเมตร ฝังลึก 25 เซนติเมตร สูงจากพื้นอาคาร 3.910 เมตร เสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 ได้รับการบูรณะในรัชกาลปัจจุบัน มีความสูง 5.035 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนเสา 47 เซนติเมตร ฝังลึก 1.707 เมตร สูงจากพื้นอาคาร 3.328 เมตร |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24-25 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์ |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | พิธีจารึกดวงชาตาพระนคร, พิธีบรรจุดวงชาตาพระนคร, พิธียกเสาหลักเมือง,ประกาศพระราชพิธีเรื่อง “ประกาศเทวดาให้ประดิษฐานในเทวรูปบนยอดพระบรมมหานครโดรณที่บรรจุพระสุพรรณบัตรจาฤกดวงพระชันษากรุงเทพฯ” |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-30 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | จดหมายเหตุการปรับปรุงศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2325-2529.กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง, 2531. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์.ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 2.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2550. |