ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระเจดีย์หลวง
คำสำคัญ : เจดีย์ทรงระฆัง, เขาตังกวน, พระเจดีย์หลวง, เจดีย์เขาตังกวน
ชื่อเรียกอื่น | เจดีย์เขาตังกวน |
---|---|
ชื่อหลัก | เขาตังกวน |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | บ่อยาง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | สงขลา |
ภาค | ภาคใต้ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 7.210289 Long : 100.589363 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 N Hemisphere : N E : 675489.41 N : 797299.55 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ยอดเขาตังกวน |
ประวัติการสร้าง | รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสามภพพ่ายเป็นข้าหลวงเชิญพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าพระยาสงขลาสร้างเจดีย์ขึ้นบนยอดเขาตังกวน |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน |
ขนาด | สูง 9 วา 3 ศอก |
ลักษณะทางศิลปกรรม | รูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ เป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณในผังสี่เหลี่ยม ส่วนฐานประทักษิณเจาะช่องวงโค้ง ที่พนักระเบียงประดับด้วยช่องวงโค้งเช่นกัน มีบันไดทางขึ้นทางด้านตะวันออกและตะวันตก ลักษณะเป็นบันไดประชิด องค์เจดีย์ประกอบด้วยส่วนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ชุดมาลัยเถาและบัวลูกแก้วอกไก่รองรับองค์ระฆัง มีบัลลังก์สี่เหลี่ยม ปล้องไฉนและปลียอด ปัจจุบันได้รับการปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสทางเรือไปตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อพ.ศ.2402 และ พ.ศ.2406 ซึ่งได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรทิวทัศน์บนยอดเขาตัวกวน และได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณนั้น เจดีย์บนเขาตังกวนจึงมีความสำคัญเนื่องจากอยู่ปากทางสัญจรเข้าออกระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ที่ตั้งของเจดีย์จึงเป็นจุดสังเกตสำคัญของการเดินเรือเพื่อผ่านเข้า-ออกทะเลสาบสงขลา และจากตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์ก็จะสามารถมองเห็นการสัญจรทางเรือจากอ่าวไทยเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถสังเกตความเคลื่อนไหวทางทะเลจากฝั่งอ่าวไทยได้ในระยะไกล ชัยภูมิที่ตั้งของเจดีย์องค์นี้จึงเป็นประโยชน์ทั้งในการทัพและการค้า ในบริเวณใกล้กันได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาที่ประทับ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างเพิ่มเติมให้มีความแข็งแรงและงดงามมากยิ่งขึ้น และได้สร้างประภาคารใกล้กับเจดีย์เพื่อให้เป็นจุดหมายในการเดินเรือที่ชัดเจนยิ่งขึ้น |
ข้อสังเกตอื่นๆ | รูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณในผังสี่เหลี่ยมที่มีบันได้ทางขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างในหัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | เจดีย์ทรงระฆังแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-04-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2548. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. “เจดีย์แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4: ศรัทธากับอาณาเขต” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ“ศรัทธาข้ามพรมแดน: ศิลปวัฒนธรรมพิจารณ์ก้าวข้ามภูมิศาสตร์ ศาสนา กาลเวลา และชาติพันธุ์” จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร วันที่ 30-31 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร. |