ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ปูนปั้นรูปนักดนตรี

คำสำคัญ : เมืองคูบัว, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ปูนปั้นรูปนักดนตรี

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะห้องทวารวดี

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบที่เจดีย์หมายเลข 10 เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ลักษณะทางศิลปกรรม

ประติมากรรมปูนปั้นนี้ทำรูปสตรี 5 คน นั่งพับเพียบเรียงกัน สวมเฉพาะผ้านุ่ง ท่อนบนมีเพียงผ้าคล้องไหล่ไว้เท่านั้น สตรีทางซ้ายสันนิษฐานว่ากำลังตีกรับ สตรีคนถัดมาน่าจะทำหน้าที่ขับร้อง สตรีคนกลางถือเครื่องดนตรีประเภทพิณ 5 สาย คล้ายกระจับปี่หรือซึง สตรีคนถัดมาทำหน้าที่ตีฉิ่ง และสตรีทางขวาสุดกำลังดีดพิณ

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นรูปวงดนตรีที่บรรเลงโดยสตรี สภาพสมบูรณ์มาก ช่วยทำให้เห็นภาพการเล่นดนตรีในสมัยทวารวดีได้เป็นอย่างดี

ข้อสังเกตอื่นๆ

แม้ว่าภาพนางนักดนตรีทั้งห้านี้ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับวงดนตรีประเภทมโหรีปี่พาทย์ของไทยในปัจจุบันได้โดยสนิท แต่ดูจะคล้ายคลึงกับการขับไม้บรรเลงพิณ ซึ่งก็คือที่มาของวงมโหรีในปัจจุบันนั่นเอง

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา / ประเพณีท้องถิ่น

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, มรดก 1,000 ปี เก่าสุดในสยาม, กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2556.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.