ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางสมาธิ

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปปางสมาธิ

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะห้องทวารวดี

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมเชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบแบบหลวม ซ้อนกันเฉพาะพระบาท พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงนูนเป็นสันและต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำและโปน พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะและกว้าง พระอุษณีษะเป็นต่อมนูนสูง มีพระรัศมีรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ววางเหนือพระอุษณีษะ ครองจีวรห่มเฉียง เรียบไม่มีริ้ว บางแนบพระวรกาย

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างของพระพุทธรูปที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างศิลปวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลางกับภาคอีสานอย่างใกล้ชิด

ข้อสังเกตอื่นๆ

ค้นพบที่บ้านวังปลัด อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.