ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ธรรมจักร

คำสำคัญ : ธรรมจักร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องทวารวดี

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สลักหิน

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบที่วัดเสน่หา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประทาน

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นโบราณวัตถุที่ควบคุมการทำเทียม ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ควบคุมการทำเทียม ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2541 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 115 ตอนที่ 65 ง ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2541
ขนาดสูง 106 เซนติเมตร (ไม่รวมเดือย) เส้นผ่าศูนย์กลาง 88 เซนติเมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

ธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรแลดูโปร่งนอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบกงมีลวดลายกนกคล้ายเปลวไฟ ส่วนล่างมีแผงสามเหลี่ยมรับน้ำหนักต่อเนื่องไปยังแท่นฐานสี่เหลี่ยมที่รับองค์ธรรมจักรไว้

ตามตำแหน่งต่างๆ ของธรรมจักรองค์นี้มีจารึกข้อพระธรรมภาษาบาลี อักษรปัลลวะ เป็นข้อความจากธรรมจักรกัปปวัตรสูตร

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ธรรมจักรเป็นปูชนียวัตถุเด่นของวัฒนธรรมทวารวดี ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและการตั้งมั่นพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ

สำหรับธรรมจักรองค์นี้มีความำสคัญมากไปกว่านั้น เพราะว่ามีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี เป็นข้อความจากธรรมจักรกัปปวัตรสูตร หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อแห่งธรรม ซึ่งเป็นเรื่องราวครั้งที่พระพุทธเจ้าปฐมเทศนาและเริ่มหมุนพระธรรมจักร แสดงให้เห็นว่าชาวทวารวดีเข้าใจถึงความหมายของธรรมจักรได้อย่างลึกซึ้ง
ข้อสังเกตอื่นๆ

ธรรมจักรองค์นี้ปรากฏอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตบาลี เป็นข้อความจากธรรมจักรกัปปวัตรสูตร อันเป็นพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา ทั้งยังค้นพบร่วมกันกับกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์ของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่ที่พระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนาด้วย แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนชาวทวารวดีเข้าใจถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับสัญลักษณ์รูปธรรมจักร ว่าพระองค์ทรงหมุน (แผ่คำสอน) ตั้งแต่ครั้งปฐมเทศนา

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ธนิต อยู่โพธิ์, ธรรมจักร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2508.

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

ศิลปากร, กรม, ประชุมจารึกภาคที่ 2 จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้. พระนคร : กรมศิลปากร, 2504.