ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ธรรมจักร

คำสำคัญ : ธรรมจักร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลอู่ทอง
อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.373126
Long : 99.891406
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 596139.84
N : 1589166.81
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สลักหิน

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบจากาการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข 11 เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะทางศิลปกรรม

ธรรมจักรชุดนี้พบว่ามีส่วนประกอบครบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ เสาแปดเหลี่ยม ฐานสี่เหลี่ยม และธรรมจักร โดยฐานสี่เหลี่ยมทำหน้าที่ยึดตรึงให้ธรรมจักรวางอยู่บนยอดเสาได้โดยไม่ร่วงหล่น

ธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรแลดูโปร่ง นอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบกงมีลวดลายกนกคล้ายเปลวไฟ เบื้องล่างมีแผงสามเหลี่ยมรับน้ำหนัก ทั้งยังมีกลีบบัวรองรับ และมีเดือยยาวเสียบลงไปในแท่นสี่เหลี่ยม

ฐานสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มุมทั้งสี่ออกแบบลวดลายเลียนแบบมกร มีช่องเจาะทะลุตรงกลางเพื่อรับเดือยของธรรมจักรและของเสา ทำหน้าที่ยึดตรึงเสากับธรรมจักรให้ติดกัน

เสาธรรมจักรมีลำตัวอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ด้านล่างสุดสลักรูปหงส์และดอกบัวรองรับลำตัวเสา ยอดสาสลักลายพวงมาลัยและอุบะดอกไม้ ถัดขึ้นไปเป็นเดือยที่สอดเข้าไปในฐานสี่เหลี่ยม
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ธรรมจักรเป็นปูชนียวัตถุเด่นของวัฒนธรรมทวารวดี ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและการตั้งมั่นพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ธรรมจักรจากเมืองอู่ทององค์นี้ค้นพบจากการขุดแต่งทางวิชาการ จึงมีการจดบันทึกและเก็บรักษาไว้อย่างดีครบชุด เผยให้เห็นว่าธรรมจักร 1 ชุดมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ธรรมจักรกลม ฐานสี่เหลี่ยม และเสา ทั้งนี้ฐานสี่เหลี่ยมทำหน้าที่ยึดธรรมจักรกับเสาให้ติดกัน

ข้อสังเกตอื่นๆ

ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ธนิต อยู่โพธิ์, ธรรมจักร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2508.

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ, นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550.