ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูป

คำสำคัญ :

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลเมืองเก่า
อำเภอเมือง
จังหวัดสุโขทัย
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.018304
Long : 99.707273
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 575278.74
N : 1881715.86
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารที่กล่าวถึงพระพุทธรูปองค์นี้ แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่แสดงความเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปล้านนาระยะแรกๆ หรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ทำให้กำหนดอายุอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ปูนปั้น

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบภายในอุระของพระพุทธรูปประธานวัดพระพายหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ชำรุดเสียหายหลายส่วนจนไม่ทราบว่าเดิมทีอยู่ในอิริยาบถใดและทำปางใด ทั้งนี้จากการเป็นประติมากรรมนูนสูงจึงเชื่อว่าน่าจะเคยใช้ประดับศาสนสถานโดยก่ออิงกับผนัง

พระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์สมส่วนและหยักเป็นคลื่น พระเกศาเป็นเม็ดเล็กๆ พระอุษณีษะนูน พระรัศมีชำรุดสูญหาย พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียง เรียบไม่มีริ้ว ชายสังฆาฏิเล็กและสั้นเหนือพระถัน มีชายทบซ้อนกันดังที่เรียกกันว่าเขี้ยวตะขาบ
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ค้นพบจากวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเดิมทีเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมร ทว่าพระพุทธรูปองค์นี้กลับมีรูปแบบทางศิลปกรรมที่สัมพัน์กับล้านนาหรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง สะท้อนความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างสุโขทัยกับล้านนาได้ชัดเจน และอาจเป็นหลักฐานการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาที่วัดพระพายหลวง จากพุทธมหายานตามแบบแผนจากเขมรมาสู่พุทธศาสนาเถรวาทสายลังกาวงศ์ที่นิยมแพร่หลายในสุโขทัยและล้านนา

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะสุโขทัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. รายงานผลการวิจัยเรื่องวัตถุปูนปั้นขุดค้นได้จากวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ.2528-2529. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.