ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระวิษณุ

คำสำคัญ : พระวิษณุ, พระนารายณ์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ชื่อเรียกอื่นพระนารายณ์
ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรระบุถึงประวัติการสร้างพระวิษณุองค์นี้ แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับประติมากรรมพระวิษณุในประเทศอินเดียช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 10 เช่น ศิลปะของราชวงศ์กุษาณะซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองอินเดียภาคเหนือ ศิลปะอินเดียภาคใต้แถบรัฐอานธระประเทศซึ่งขณะนั้นปกครองโดยราชวงศ์ศาตวาหนะและอิกษวากุตามลำดับ จึงเชื่อว่าพระวิษณุองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในห้วงพุทธศตวรรษที่ 9-10

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สลักหิน

ขนาด68.5 เซนติเมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระวิษณุองค์นี้อยู่ในอิริยาบถยืนตรง สวมมงกุฎทรงกระบอกหรือกิรีฏมกุฏ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดของพระวิษณุรุ่นแรกๆ ในดินแดนไทย

พระองค์มี 4 พระกรตามแบบแผนทางประติมานวิทยาของพระวิษณุ พระกรขวาหน้าแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ขวาหลังถือตะบอง พระหัตถ์ซ้ายหน้าถือสังข์ในระดับพระโสณี (สะโพก) พระหัตถ์ซ้ายหลังหักหายซึ่งแต่เดิมควรถือจักร ท่าทางและการถือสิ่งของในตำแหน่งข้างต้นนี้มีมาก่อนแล้วในรูปพระวิษณุในศิลปะอินเดียภาคเหนือรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 10

พระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือย ช่วงล่างสวมผ้านุ่งยาวหรือที่เรียกว่า “โธตี” บางแนบพระวรกายจนเห็นสรีระภายใน มีชายผ้าคาดพระโสณี (สะโพก) รูปวงโค้งพาดผ่านเหนือพระอุรุ (ต้นขา) ลักษณะเช่นนี้เทียบได้กับศิลปะอินเดียภาคใต้ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 10
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระวิษณุจากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์นี้ เชื่อว่าเป็นพระวิษณุที่เก่าที่สุดในดินแดนไทยเท่าที่พบกันในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการประดิษฐานศาสนาพราหมณ์ในคาบสมุทรภาคใต้เป็นอย่างดี

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะศรีวิชัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 9-10
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศาสนาพราหมณ์

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

พิริยะ ไกรฤกษ์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528.

พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2523.

O’Conner, Stanley J., Hindu Gods of Peninsular Siam. Ascona: Artibus Asiae Publishers, 1972.