ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพิมพ์

คำสำคัญ : พระพิมพ์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ชื่อเรียกอื่นพระพิมพ์ดินดิบ
ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7576
Long : 100.492222
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661329.97
N : 1521418.09
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติการสร้าง

ไม่พบหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่กล่าวถึงประวัติและรายละเอียดการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่มีความใกล้ชิดกับพระพิมพ์ศิลปะอินเดียแบบปาละปาละและพระพิมพ์ในศิลปะชวาภาคกลางในอินโดนีเซีย ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 จึงอาจกำหนดอายุพระพิมพ์กลุ่มนี้ไว้ในช่วงเวลาเดียวกัน

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ดินดิบประทับรูปพระโพธิสัตว์ หรือทิพยบุคคลอื่นๆ จากนั้นประทับแม่พิมพ์ที่ทำรูปพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือทิพยบุคคลอื่นๆ ลงบนก้อนดิน จากนั้นนำไปตากแดดผึ่งลม

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพิมพ์ดินดิบเหล่านี้ค้นพบจากหลากพื้นที่ในบริเวณภาคใต้ของไทย มีลักษณะเป็นก้อนกลม ส่วนบนยื่นแหลมเล็กน้อย บางองค์อาจทำส่วนล่างยื่นแหลมด้วย ประทับรูปพระโพธิสัตว์ หรือทิพยบุคคลอื่นๆ ไว้ตรงกลาง เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 21 กร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ท้าวกุเวรหรือท้าวชัมภละ

พระพิมพ์แบบนี้ได้ค้บพบอยู่ตามดินแดนที่นับถือพุทธศาสนามหายาน โดยเพาะอย่างยิ่งราชวงศ์ปาละในประเทศอินเดีย และราชวงศ์ไศเลนทร์ในเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย เป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านเครือข่ายการนับถือพุทธศาสนามหายาน
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพิมพ์ดินดิบเหล่านี้สะท้อนความเชื่อเนื่องในพุทธศาสนามหายาน และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาคใต้กับดินแดนอื่นๆ ที่นับถือพุทธศาสนามหายาน เช่น ราชวงศ์ปาละในประเทศอินเดีย และราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

ข้อสังเกตอื่นๆ

พระพิมพ์ดินดิบเหล่านี้มักผสมเถ้ากระดูกไว้ด้วย

พระพิมพ์ดินดิบในภาคใต้มักค้นพบอยู่ภายในถ้ำที่ได้รับการดัดแปลงให้เป็นพุทธสถาน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะศรีวิชัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนามหายาน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-10-13
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2523.

สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, หม่อมหลวง. “การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2528.