ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธไตรรัตนนายก
คำสำคัญ : พระพุทธไตรรัตนนายก, พระโต, หลวงพ่อโต, ซำปอกง, วัดกัลยาณมิตร, วัดกัลยาณ์, วัดพระโต
ชื่อเรียกอื่น | พระโต, หลวงพ่อโต, ซำปอกง |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดกัลยาณมิตร |
ชื่ออื่น | วัดกัลยาณ์, วัดพระโต |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | วัดกัลยาณ์ |
อำเภอ | เขตธนบุรี |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.739855 Long : 100.491274 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661242.71 N : 1519456.5 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นผู้สร้างวัดกัลยาณมิตร โดยอุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน ปิดทอง |
ขนาด | หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.45 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธไตรรัตนนายกมีรูปแบบเฉพาะอย่างพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ พระวรกายค่อนข้างเพรียว พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตรและพระขนงป้ายเป็นแผ่นเช่นเดียวกับพระพุทธรูปอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง คล้ายเรือประทุน พระพักตร์อย่างหุ่น ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่พาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นผู้สร้างวัดกัลยาณมิตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานช่วยในการสร้างพระวิหารและพระพุทธรูปประธาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระราชทานนามว่า พระพุทธไตรรัตนนายก แนวพระราชดำริในการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในพระนครเช่นนี้อาจเป็นการแสดงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์ ดังจะเห็นว่าในรัชกาลที่ 3 มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในพระนคร เช่น พระพุทธไตรรัตนนายกที่วัดกัลยาณมิตร และพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม การสร้างพระพุทธไตรรัตนนายกซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานภายในพระวิหารที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยังเป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เหมือนเมื่อครั้งกรุงเช่นเดียวกับที่มีการสร้างพระพุทธไตรรัตนนายกที่วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์.งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ.กรุงเทพฯ : มติชน, 2551. ศักดิ์ชัย สายสิงห์.พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. |