ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

จิตรกรรมเรื่องชาดก 550 ชาติ

คำสำคัญ : วัดเครือวัลย์, จิตรกรรมเรื่องชาดก550ชาติ

ชื่อหลักวัดเครือวัลย์
ประเภทงานศิลปะจิตรกรรม
ตำบลวัดอรุณ
อำเภอเขตบางกอกใหญ่
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.746123
Long : 100.48552
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 660613.1
N : 1520144.4
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพระอุโบสถ

ประวัติการสร้าง

เจ้าพระยาอภัยภูธรสร้างวัดที่คลองมอญฝั่งใต้แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า วัดเครือวัลย์

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ภาพเขียนสีฝุ่น ปิดทอง

ประวัติการอนุรักษ์

ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และกรมศิลปากรในรัชกาลที่ 9

ลักษณะทางศิลปกรรม

ผนังรอบพระอุโบสถแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดเท่าๆกัน เขียนลายกระหนกเป็นกรอบ ภายในช่องเขียนภาพชาดกแตกต่างกัน และมีข้อความกำกับใต้ภาพแต่ละเรื่อง ชาดกแต่ละเรื่องนำเสนอผ่านฉากเหตุการณ์สำคัญในแต่ละตอน ภาพบุคคลสำคัญเช่นพระโพธิสัตว์ เทวดา กษัตริย์ปิดทองที่เครื่องทรง มีกิริยาอย่างนาฏลักษณ์ ภาพอาคารมีที่เป็นรูปแบบอาคารอย่างไทยประเพณี อาคารแบบจีน บ้านเรือนผู้คนที่มีรูปแบบตามสมัยนิยม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

วัดเครือวัลย์เป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนเรื่องชาดก 550 ชาติ โดยเขียนเต็มผนังพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน โดยแบ่งเป็นช่องภาพสี่เหลี่ยมขนาดเท่าๆกัน แต่ละช่องเขียนชาดก 1 พระชาติ เป็นฝีมือครูช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 ดังปรากฏในกลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวของนายมี มหาดเล็ก ภาพชาดก 550 ชาติ มีหลักฐานว่ามีการสร้างมาบ้างแล้วในสมัยทวารวดี ภาพสลักที่แผ่นหินชนวนเพดานอุโมงค์วัดศรีชุมสมัยสุโขทัย และจิตรกรรมฝาผนังในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะสมัยอยุธยาตอนต้น แต่มีไม่ครบ 550 ชาติโดยอาจเลือกมาเพียงเรื่องสำคัญซึ่งเป็นที่รู้จัก ที่วัดเครือวัลย์จึงเป็นแหล่งที่สำคัญและสมบูรณ์ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-25
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

สุริยา รัตนกุล, คุณหญิง. พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550-2552.