ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

วัดสระเกศ

คำสำคัญ : วัดสระเกศ, วัดภูเขาทอง, วัดสะแก, วัดสะเกศ

ชื่อเรียกอื่นวัดภูเขาทอง, วัดสะแก
ชื่อหลักวัดสระเกศ
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลบ้านบาตร
อำเภอเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.753886
Long : 100.508395
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 663080.97
N : 1521017.13
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพุทธาวาส

ประวัติการสร้าง

วัดสระเกศ เดิมชื่อวัดสะแก สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ปิดทองประดับกระจก

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระอุโบสถเป็นอาคารแบบไทยประเพณี หลังคาเครื่องไม้ซ้อนชั้น ประดับเครื่องลำยอง ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ หน้าบันประดับรูปพระนารายณ์ทรงครุฑทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างทรงบันแถลง มีเสาพาไลโดยรอบพระอุโบสถ พนักระเบียงรอบพระอุโบสถประดับกระเบื้องปรุ มีซุ้มสีมาทรงกูบทั้ง 8 ทิศประดับกระเบื้องเคลือบสีที่สั่งทำจากประเทศจีน พระอุโบสถล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งเรียงรายทั้ง 4 ด้าน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

วัดสระเกศ เดิมชื่อ วัดสะแก เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสมัยธนบุรีถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากเป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงพักไพร่พลเมื่อเสด็จกลับจากศึกเขมร ได้ลงสรงและทรงสระพระเกศาในสระใหญ่บริเวณนั้น แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีมูรธาภิเษก ก่อนที่จะเสด็จไปปราบจลาจลในกรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกในเวลาต่อมา หลังจากนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดแล้วพระราชทานนามว่าวัดสระเกศซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์นั้น

วัดสระเกศได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปัตยกรรมบางประการจึงมีรูปแบบตามพระราชนิยม เช่น พระอุโบสถ ที่เป็นอาคารแบบไทยประเพณี หน้าบันประดับเครื่องลำยองและรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ แต่มีเสาพาไลทรงสี่เหลี่ยมทึบตัน ไม่ประดับบัวหัวเสา มีซุ้มสีมาที่เป็นทรงกูบประดับด้วยกระเบื้องสีที่สั่งทำจากเมืองจีนและมีพระเจดีย์รายรอบพระอุโบสถซึ่งเป็นเจดีย์ทรงเครื่องที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

สุริยา รัตนกุล,คุณหญิง. พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร.นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550-2552.