ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

หอพิสัยศัลยลักษณ์

คำสำคัญ : หอพิสัยศัลยลักษณ์, พระราชวังจันทรเกษม

ชื่อหลักพระราชวังจันทรเกษม
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลหัวรอ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.3646377
Long : 100.575061
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 669839.43
N : 1588633.3
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

พระราชวังจันทรเกษมได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2546 ผลจากการขุดค้นพบว่ามีการสร้างหอพิสัยศัลยลักษณ์ทับฐานรากแนวอาคารเดิมสมัยอยุธยา
ลักษณะทางศิลปกรรม

มีรูปแบบเป็นอาคารหอคอยสูง 4 ชั้น ตั้งอยู่บนฐานอาคารที่มีลานกว้างซึ่งมีบันไดและพนักระเบียง ภายในอาคารมีบันไดเวียนขึ้นไปสู่ชั้นบน ชั้น 2 มีระเบียงออกมาสู่ภายนอก ประดับพนักระเบียงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีการใช้ระบบผนังวงโค้งช่วยรองรับน้ำหนัก ผังอาคารมีลักษณะคล้ายหอสูงทรงสี่เหลี่ยมประกบกัน 2 ชุด ดังนั้นจึงมีหลังคา 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และหลังคาตัดทรงสี่เหลี่ยม ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน ช่องหน้าต่างมีลักษณะเป็นช่องวงโค้งมีบานไม้เปิด -ปิด ยกเว้นช่องหน้าต่างชั้นบนสุดที่เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

หอพิสัยศัลยลักษณ์เป็นอาคารหอคอยสูง แนวคิดและเทคนิคการก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับทอดพระเนตรทิวทัศน์และสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระราชวังจันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

เป็นหอคอยสูงที่รัชกาลที่ 4 ทอดพระเนตรดวงดาวเช่นเดียวกับหอชัชวาลเวียงชัย ที่พระนครคีรี จ.เพชรบุรี ซึ่งในรัชสมัยนี้ยังมีหอสูงเพื่อการคำนวณทางดาราศาสตร์และกำหนดเวลามาตรฐานในพระบรมมหาราชวังด้วย เช่น พระที่นั่งภูวดลทัศนัย หอนาฬิกา เป็นต้น

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-04-28
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมกับงานช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.