ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมลายกำมะลอ
คำสำคัญ : วัดนางนอง, จิตรกรรมลายกำมะลอ, ลายกำมะลอ, ลายรดน้ำกำมะลอ
ชื่อเรียกอื่น | ลายกำมะลอ, ลายรดน้ำกำมะลอ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดนางนอง |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | บางค้อ |
อำเภอ | เขตจอมทอง |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.703695 Long : 100.466911 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 658628.74 N : 1515436.82 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ผนังภายในพระอุโบสถ ด้านหน้าพระประธาน |
ผู้สร้าง | ลัทธิเต๋า |
---|---|
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ภาพเขียนสีฝุ่นและทองคำเปลวบนพื้นรัก |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพจิตรกรรมลวดลายอย่างจีน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมทองคำเปลว บนพื้นรักสีดำเป็นรูปเทพเจ้าฮก ลก ซิ่ว ตามคติความเชื่อในลัทธิหรือศาสนาเต๋า แต่งกายอย่างจีน พร้อมด้วยบริวาร |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ภาพฮกลกซิ่วที่ผนังสกัดด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดนางนองเป็นตัวอย่างงานช่างประณีตศิลป์ที่เรียกว่าลายกำมะลอ หรือบางแห่งเรียกว่า ลายรดน้ำกำมะลอ ซึ่งหมายถึงการเขียนภาพจิตรกรรมโดยใช้สีฝุ่นผสมด้วยยางรักหรือรักน้ำเกลี้ยง เขียนลงบนพื้นรักสีดำที่เตรียมไว้ และใช้ทองคำเปลวเป็นองค์ประกอบร่วมในการเขียนภาพ จึงทำให้ได้ภาพจิตรกรรมที่มีความโดดเด่น เนื่องจากพื้นสีดำอันเกิดจากยางรักจะขับเน้นให้ภาพเขียนจากสีฝุ่นและทองคำเปลวโดดเด่นงดงามมากยิ่งขึ้น ลายกำมะลอยังหมายถึงกระบวนลายอย่างจีน สันนิษฐานว่าช่างจีนน่าจะเป็นผู้นำเทคนิคการเขียนภาพลักษณะนี้เข้ามาเผยแพร่ โดยพบว่ามีความนิยมเขียนภาพวรรณคดีจีนและเทพเจ้าอย่างจีนด้วย ดังเช่นที่วัดนางนองที่มีภาพลายกำมะลอเรื่องสามก๊ก และภาพฮกลกซิ่ว ซึ่งมีความหมายถึงโชคลาภ วาสนา ทรัพย์สิน และการมีอายุยืนยาว |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ลัทธิเต๋า |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | 3วัดประวัติศาสตร์. ที่ระลึกในงานศพนางสุทิน บุนปาน 7 มีนาคม 2552. สุริยา รัตนกุล. พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร เล่ม 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550-2552. |