ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธมหาจักรพรรดิ

คำสำคัญ : วัดนางนอง, พระพุทธรูปทรงเครื่องวัดนางนอง, พระพุทธมหาจักรพรรดิ

ชื่อเรียกอื่นพระพุทธรูปทรงเครื่องวัดนางนอง
ชื่อหลักวัดนางนอง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลบางค้อ
อำเภอเขตจอมทอง
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.703695
Long : 100.466911
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 658628.74
N : 1515436.82
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพระอุโบสถ

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อด้วยสำริด ปิดทอง

ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระวรกายเพรียว พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเล็ก พระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยจนเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์คล้ายหุ่น อันเป็นรูปแบบเฉพาะของพระพุทธรูปในรัชกาลที่ 3 ทรงเครื่องประดับต่างๆ ได้แก่ พระมหามงกุฎ กรองศอ สังวาล พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท

สกุลช่างช่างหลวงในรัชกาลที่ 3
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทรงเครื่องเพื่อประดิษฐานในพระอุโบสถวัดนางนอง มีลักษณะสำคัญคือเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่หล่อด้วยสำริด โดยหล่อเครื่องประดับแยกไว้ต่างหากจึงทำให้สามารถถอดแยกเครื่องทรงแต่ละชิ้นออกได้ นับเป็นงานช่างสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 เฉพาะส่วนของมงกุฎนั้น มีประวัติเล่าว่า รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ถอดออกแล้วนำไปครอบไว้เหนือนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม แล้วจึงได้สร้างมงกุฎองค์ใหม่มาถวายคืน

คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่วัดนางนองนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนทรมานพระยาชมพูบดี หรือชมพูบดีสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเนรมิตเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงเป็นใหญ่เหนือราชาทุกแว่นแคว้นโดยทรงเครื่องอย่างพระจักรพรรดิราชเพื่อปราบพระยาชมพูบดีให้ลดทิฐิมานะ ซึ่งสอดคล้องกับภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถที่เขียนเรื่องตอนเดียวกันนี้
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.