ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

คำสำคัญ : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระพุทธรูป, วัดเฉลิมพระเกียรติ, วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จ.นนทบุรี, วัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี, พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร , รัชกาลที่ 3

ชื่อเรียกอื่นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ
ชื่อหลักวัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลบางศรีเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.848337
Long : 100.484608
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 660443.74
N : 1531449.31
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพระอุโบสถ

ประวัติการสร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2389 ณ โรงหล่อหลวง ในพระบรมมหาราชวัง

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อด้วยทองแดง ปิดทองคำ

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากรมีรูปแบบเฉพาะของพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 อย่างแท้จริง กล่าวคือ พระวรกายเพรียวบาง พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเล็ก พระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยจนเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์คล้ายหุ่น ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก มีอุษณีษะรองรับพระรัศมีเปลว ประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน ครองจีวรห่มเฉียงเรียบไม่มีริ้ว

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขุดพบแร่ทองแดงเป็นจำนวนมากที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา จึงมีพระราชประสงค์ให้นำทองแดงนั้นมาใช้ประโยชน์ในการเกื้อกูลพระพุทธศาสนา โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้นำแร่ทองแดงมาหล่อเป็นพระพุทธรูป ณ โรงหล่อหลวง เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานยังพระอารามที่ทรงสร้างขึ้นใหม่ 2 แห่ง คือวัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดราชนัดดาราม พระราชทานนามพระพุทธรูปประธานที่วัดเฉลิมพระเกียรติว่าพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ.กรุงเทพฯ : มติชน, 2551.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย.กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.