ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หนังพระนครไหว
คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, วังหน้า, หนังใหญ่, หนังพระนครไหว
ชื่อเรียกอื่น | หนังใหญ่ |
---|---|
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ชื่ออื่น | วังหน้า |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.758237 Long : 100.491362 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661235.73 N : 1521485.49 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | แกะลาย ระบายสี |
ขนาด | กว้าง 163 เซนติเมตร สูง 186 เซนติเมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | หนังพระนครไหวประกอบด้วยหนัง 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ หนังชุดเบิกโรง คือชุดจับลิงหัวค่ำ ประกอบด้วยตัวหนังพระฤษี ลิงขาว และลิงดำ อีกประเภทหนึ่งคือหนังเล่าเรื่อง สำหรับการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ เช่น ตอนศึกอินทรชิตตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนหนุมานอาสา ตอนทศกัณฐ์สั่งเมือง และตอนพระรามเสี่ยงม้าอุปการเป็นต้น ตัวหนังทำจากหนังโคเป็นผืนขนาดใหญ่ ฉลุลายด้วยสิ่วและค้อนให้เป็นรูปตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์และองค์ประกอบต่างๆ ตามท้องเรื่อง ตัวละครแต่งกายยืนเครื่องและสวมศิราภรณ์เช่นเดียวกับการแสดงโขน โดยแผ่นหนังทั้งผืนไม่ขาดจากกัน ระบายสีผืนหนังในบางแห่ง หนังแต่ละตัวมีไม้คีบหนัง 2 ข้าง สำหรับผนึกตัวหนังและเชิดประกอบการแสดง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | หนังใหญ่เป็นมหรสพของหลวงที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับใช้ประกอบการแสดงในการพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีสมโภชต่างๆ งานพระเมรุ เป็นต้น โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีชุดหนังใหญ่สำหรับการแสดงในงานพระราชพิธีมีชื่อเรียกว่า “หนังพระนครไหว” เป็นตัวหนังที่มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่ และครบถ้วนสำหรับประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีฉากการสู้รบอยู่หลายตอนได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้การแสดงของราชสำนักแต่ละครั้งเป็นที่เลื่องลือไปทั่วพระนคร สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของคำว่า หนังพระนครไหว ลักษณะสำคัญของหนังพระนครไหวคือ ภาพตัวละครต่างๆ ได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์วานรจะอยู่ในอากัปกิริยาต่างกันตามเนื้อเรื่อง ทั้งหมดแต่งกายเช่นเดียวกับการแสดงโขนประดับพื้นหลังด้วยลวดลายกระหนกที่พลิ้วไหว บางชิ้นเป็นหนังเล่าเรื่องซึ่งจะมีองค์ประกอบฉากเพิ่มเติม เช่น ภาพปราสาทราชวัง ราชรถ แม่น้ำ ต้นไม้ ภูเขา ตัวหนังทำด้วยหนังโคผืนเดียวฉลุลายและระบายสีบางแห่ง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | รามเกียรติ์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | จารุณี อินเฉิดฉาย, ขวัญจิต เลิศศิริ, สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพรผู้เขียนและเรียบเรียง.หนังพระนครไหว.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551. |