ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำสำคัญ : วัดบวรฯ บางลำพู, วัดบวรนิเวศวิหาร, ตำหนักเพชร, พระบรมรูปรัชกาลที่ 4, พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรียกอื่นพระบรมรูปรัชกาลที่ 4
ชื่อหลักตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร
ชื่ออื่นวัดบวรฯ บางลำพู
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลบวรนิเวศ
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.760173
Long : 100.500492
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 662217.31
N : 1521731.2
ตำแหน่งงานศิลปะภายในตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติการสร้าง

สืบเนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสส่งพระบรมรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์เองในปี พ.ศ. 2406 อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดพระบรมรูปดังกล่าวเนื่องจากทรงเห็นว่าปั้นพระวรกายผิดส่วนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช่างเคยเห็นแต่เพียงพระบรมฉายาลักษณ์เท่านั้น จึงทรงมีพระราชดำริให้หลวงเทพรจนา (พลับ) ปั้นพระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริงขึ้น โดยทรงเป็นแบบด้วยพระองค์เองและยึดคติการปั้นรูปเหมือนจริงตามแบบตะวันตก จึงอาจถือได้ว่าเป็นการปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทยที่ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่เป็นครั้งแรกในวงการประติมากรรมไทย

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ปูนพลาสเตอร์

ประวัติการอนุรักษ์

-

ขนาดสูง 176 เซนติเมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระบรมรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถประทับยืนตรง ทรงฉลองพระองค์เยียรบับ ทรงพระภูษาโจงขอบเชิง พระมาลาทรงหม้อตาล ทรงสายสะพายแบบเลจิอองดอนเนอร์ของฝรั่งเศส ทรงฉลองพระบาท พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบหัตถ์นารายณ์ ทอดปลายพระแสงดาบลงพื้น พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหนังสือ

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจกล่าวได้ว่าเป็นประติมากรรมเหมือนจริงของพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ปั้นขึ้นในขณะที่ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพ การสร้างพระบรมรูปเหมือนจริงของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริอย่างใหม่ เช่นเดียวกับการประทับเพื่อฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในสยาม ทั้งยังเป็นการลบล้างแนวความคิดความเชื่อเดิมที่ว่าจะทำให้ผู้เป็นแบบนั้นอายุสั้น ทั้งพระบรมรูปเหมือนและพระบรมฉายาลักษณ์ที่เกิดขึ้นในระยะนี้เป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนและเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ต่างจากการสร้างประติมากรรมแทนองค์พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ที่ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ข้อสังเกตอื่นๆ

-

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศิลปะในราชสำนัก
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถเดียวกันอีก 2 พระองค์ ประดิษฐานภายในหอพระจอม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร และภายในพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี 2พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานภายในปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-08-02
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, นิรินธน์ ภู่คำ
บรรณานุกรม

พิชญา สุ่มจินดา. ถอดรหัสพระจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

วิโชค มุดามณี. ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541.