ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม
คำสำคัญ : อุโบสถ, วัดราชโอรสาราม, วัดจอมทอง
ชื่อหลัก | วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดจอมทอง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | บางค้อ |
อำเภอ | เขตจอมทอง |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.702877 Long : 100.464359 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 658353.83 N : 1515345.84 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดแห่งนี้ได้รับการอนุรักษ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2531 โดยวิธีการถอดภาพจิตรกรรมออกแล้วเปลี่ยนปูนฉาบใหม่แล้วจึงนำกลับคืนที่เดิม ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 กรมศิลปากรได้ทำการอนุรักษ์โดยทำความสะอาดพื้นผิวจิตรกรรม ผนึกชั้นสี ชั้นรองพื้นและชั้นปูน ปีพ.ศ. 2550 ได้ทำการอนุรักษ์อีกครั้งโดยมีการร่างภาพและการเขียนสีเพิ่มเติม |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีเสาพาไลสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ไม่ประดับบัวหัวเสารองรับน้ำหนักซึ่งทำให้อาคารดูมั่นคงแข็งแรง เครื่องหลังคาไม่ใช้เครื่องไม้ แต่เป็นงานก่ออิฐถือปูน หน้าบันไม่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่ประดับลวดลายอย่างจีน โดยเป็นลายสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลและลายทิวทัศน์ กรอบหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นเครื่องถ้วยจีน หน้าบันแบ่งเป็น 2 ตับ ตับบนประดับรูปแจกันและช่อดอกไม้ขนาดใหญ่ที่กึ่งกลาง ขนาบข้างด้วยมังกรคู่ ถัดขึ้นไปเป็นหงส์คู่ และลายมงคลอื่นๆ ตับล่างเป็นภาพทิวทัศน์ มีบ้าน ภูเขา เขามอ ต้นไม้และสัตว์ต่างๆ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | วัดจอมทองสันนิษฐานว่าเป็นวัดเดิมที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัดแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2 พระราชทานนามวัดว่า วัดราชโอรส หมายถึงวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนานักวิชาการสันนิษฐานว่าเป็นวัดแรกที่มีการสร้างพระอุโบสถตามแบบศิลปะจีน โดยไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไทยครั้งสำคัญ อาจเรียกได้ว่า แบบนอกอย่าง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 3 กับลายพระหัตถ์พระปรมาภิไธยและศิลาจารึกดวงพระชันษามาบรรจุไว้เมื่อ พ.ศ.2397 และพระราชทานนามพระพุทธรูปว่าพระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเขียนภาพเกี่ยวกับเครื่องโต๊ะ เครื่องตั้ง และเครื่องบูชาแบบจีน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | โครงสร้างและการประดับตกแต่งอาคาร รวมทั้งงานจิตรกรรมภายในพระอุโบสมีความสัมพันธ์กับศิลปะจีน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-26 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. งานช่างสมัยพระนั่งเกล้า.กรุงเทพฯ : มติชน, 2551. ศิลปากร, กรม.ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. อิทธิพลศิลปะจีนในงานจิตรกรรมแบบนอกอย่างสมัยรัชกาลที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2547. |