ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อุทยานราชภักดิ์
คำสำคัญ : อุทยานประวัติศาสตร์บูรพกษัตริย์แห่งสยาม, อุทยานราชภักดิ์ , พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม , พระบรมราชานุสรณ์สัตตบูรพกษัตราธิราช, อนุสาวรีย์เจ็ดกษัตริย์
ชื่อเรียกอื่น | อนุสาวรีย์เจ็ดกษัตริย์, พระบรมราชานุสรณ์สัตตบูรพกษัตราธิราช, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม |
---|---|
ชื่อหลัก | อุทยานราชภักดิ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่ออื่น | อุทยานประวัติศาสตร์บูรพกษัตริย์แห่งสยาม |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | หนองแก |
อำเภอ | หัวหิน |
จังหวัด | ประจวบคีรีขันธ์ |
ภาค | ภาคตะวันตก |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 12.503098 Long : 99.963079 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 604645.96 N : 1382376.65 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในสวนสนประดิพัทธ์ |
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ และได้พระราชทานนามว่า “อุทยานราชภักดิ์” ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 10 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – สิงหาคม พ.ศ. 2558 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อโลหะสำริด |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ขนาด | ประมาณ 13.9 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์สยามตั้งอยู่บนแท่นเหนือฐานสีขาวยกมุมบริเวณที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ มีพานพุ่มที่มุมทั้ง 2 ฝั่ง มีพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 7 พระองค์ ได้แก่ 1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับยืน ทรงถือพระแสงของ้าวในอิริยาบถโน้มลงแผ่นดิน 2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืน ทรงถือทวนและสะพายพระแสงดาบในชุดนักรบ 3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับยืน ทรงฉลองพระองค์ครุยและทรงมงกุฎ พระหัตถ์อยู่ในท่าเตรียมชักพระแสงดาบ 4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประทับยืน ทรงถือพระแสงดาบในท่าพร้อมรบ 5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประทับยืน ทรงถือพระแสงดาบในฝัก 6. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงถือกล้องดูดาว พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงดาบ 7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับยืน ทรงฉลองพระองค์แบบตะวันตก พระหัตถ์ซ้ายทรงจับกระบี่ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระมาลา |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | อุทยานราชภักดิ์มีความหมายว่า อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ กองทัพบกได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ ทั้ง 7 พระองค์เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์ทั้ง 7 พระองค์ที่ทรงพระบรมเดชานุภาพและคุณูปการต่อประเทศชาติในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน นับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงพระชนม์ชีพในหลายสมัย แต่ได้นำมาสร้างรวมไว้ในที่แห่งเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนและขนาดใหญ่มากที่สุดในประเทศไทย |
ข้อสังเกตอื่นๆ | - |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | - |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-07-31 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | พระบรมราชานุสรณ์สัตตบูรพกษัตราธิราช อุทยานราชภักดิ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2558. อุทยานราชภักดิ์. กรุงเทพฯ: กองประวัติศาสตร์ทหาร สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารบก, 2558. สะเลเต. “ว่าด้วยเรื่อง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” ณ อุทยานราชภักดิ์.” ศิลปวัฒนธรรม. 37, 1 (พฤศจิกายน 2558): 28 – 34. ทีมข่าวทหารบก. “อุทยานราชภักดิ์อุทยานประวัติศาสตร์บูรพกษัตริย์แห่งสยาม” เสนาสาร. (มิถุนายน – กันยายน 2558): 9 – 11. |