ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 9

คำสำคัญ : พระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 9, รัชกาลที่ 9

ชื่อหลักพระบรมมหาราชวัง
ชื่ออื่นวังหลวง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.749948
Long : 100.491354
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661241.37
N : 1520570.89
ตำแหน่งงานศิลปะพระบรมมหาราชวัง

ประวัติการสร้าง

พระพุทธรูปประจำพระชนมวารเริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพซึ่งมีปางต่างๆ ได้แก่ วันอาทิตย์ปางถวายเนตร วันจันทร์ปางห้ามญาติ วันอังคารปางไสยาสน์ (ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนเป็นปางห้ามพระแก่นจันทน์) วันพุธปางอุ้มบาตร วันพฤหัสบดีปางสมาธิ วันศุกร์ปางรำพึง และวันเสาร์ปางนาคปรก

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อโลหะ

ประวัติการอนุรักษ์

-

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามญาติ พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศา รัศมีเป็นเปลวไฟ มีพระเกตุมาลา พระอังสาใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม จีวรบางเรียบไม่มีริ้ว ปรากฏรัดประคดและจีบเป็นแถบที่สบง ประทับยืนบนฐานบัวคว่ำบัวหงายบนฐานแปดเหลี่ยม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร หมายถึง พระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพ ซึ่งเริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวารมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้สร้างขึ้นเป็นประจำทุกรัชกาลต่อมา พระพุทธรูปประจำพระชนมวารเป็นพระพุทธรูปสำคัญในราชสำนักที่อัญเชิญมาประดิษฐานในพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ข้อสังเกตอื่นๆ

พระพุทธรูปประจำพระชนมวารในแต่ละรัชกาลจะแสดงรูปแบบของพุทธศิลป์ซึ่งนิยมในสมัยนั้นๆ ออกมา ยกเว้นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 เพราะเพิ่งมีการริเริ่มการสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงแสดงพุทธศิลป์แบบรัชกาลที่ 3

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-26
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท , ศิลปะในราชสำนัก
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

-

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-05-02
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
บรรณานุกรม

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขา, 2535.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.