ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระอุโบสถวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก
คำสำคัญ : วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก, วัดพระราม 9, วัดพระรามเก้า
ชื่อหลัก | วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดพระรามเก้า, วัดพระราม 9 |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | บางกะปิ |
อำเภอ | เขตห้วยขวาง |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.670083 Long : 100.594076 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 672342.49 N : 1521763.33 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กึ่งกลางของพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษกสร้างขึ้นบนพื้นดินใกล้เคียงกับบึงพระราม 9 ซึ่งนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 พระอุโบสถออกแบบโดยนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น โดยการออกแบบในครั้งแรกเป็นพระอุโบสถอย่างสมพระเกียรติภายใต้งบประมาณ 57 ล้านบาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งให้ปรับแบบพระอุโบสถและอาคารอื่นๆให้มีขนาดเล็กลง มีพระราชประสงค์ให้เป็นเพียงวัดเล็กๆและให้ใช้งบประมาณไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยทรงเน้นการใช้งานมากกว่าความใหญ่โต ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถหรือวิหารในยุคสมัยนี้ที่นิยมสร้างอาคารขนาดใหญ่ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | - |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระอุโบสถของวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษกนี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมุงกระเบื้องทำจากแผ่นเหล็กสีขาว หน้าบันทำเป็นมุขประเจิดประดับปูนปั้นลายดอกพุดตาน มีตราพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 ปิดทองอยู่ตรงกลาง ช่อฟ้า ใบระกาเป็นปูนปั้นไม่ประดับกระจก ผนังและเสาสี่เหลี่ยมฉาบปูนเรียบทาสีขาว บานประตูหน้าต่างใช้กรอบอะลูมิเนียม เหนือประตูมีจารึกคาถาเย ธมฺมา ด้วยอักษรอริยกะ มีหลักเสมาที่มุมทั้ง 4 และแผ่นเสมาที่พื้น ที่ด้านทั้ง 4 ภายในมีเพดานไม้เรียบ ประดิษฐานพระพุทธกาญจนธรรมสถิตเป็นพระพุทธรูปประธาน มีอัครสาวก พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอยู่เบื้องซ้ายและขวาตามลำดับ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | อุโบสถที่สร้างด้วยความเรียบง่ายและประหยัดแต่ผสมผสานลักษณะของสถาปัตยกรรมหลายแห่งเข้าด้วยกัน |
ข้อสังเกตอื่นๆ | พระอุโบสถหลังนี้มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยนำจุดเด่นจากพระอุโบสถที่สร้างมาก่อน ได้แก่ รูปทรงเสาจากวัดราชาธิวาส มุขประเจิดและความเรียบง่ายจากวัดพระปฐมเจดีย์ และการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบันจากวัดเฉลิมพระเกียรติ ทั้งนี้เน้นความเรียบง่ายและประโยชน์การให้สอยเป็นสำคัญ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระอุโบสถซึ่งออกแบบโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ รูปแบบบางประการของพระอุโบสถหลังนี้ถูกนำมาใช้กับพระอุโบสถวัดพระราม 9 |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-03-26 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |
บรรณานุกรม | วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, 2546. มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548. วิสันธนี โพธิสุนทร. “วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก: วัดส่วนพระองค์ในรัชกาลปัจจุบัน” ศิลปากร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 3 (พ.ค. – มิ.ย. 2540), 47 – 57. สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ. 9 สถาปัตย์ศิลป์ พระภูมินทร์อัครศิลปินสยาม. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2555. |