ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธนวราชบพิตร
คำสำคัญ : พระพุทธนวราชบพิตร, ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, ศาลากลางจังหวัด
ชื่อหลัก | ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร |
---|---|
ชื่ออื่น | ศาลากลางจังหวัดต่างๆ |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | เสาชิงช้า |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.754114 Long : 100.501622 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662348.83 N : 1521038.72 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครและภายในศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด |
ประวัติการสร้าง | พระพุทธนวราชบพิตรนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดชมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร โดยโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบหุ่นปั้น ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยพระพุทธรูปจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2509 และโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธนวราชบพิตร” |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | - |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ขนาด | หน้าตักกว้าง 23 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ รัศมีเป็นเปลว เม็ดพระศกขมวดเป็นก้นหอย พระพักตร์แย้มสรวล พระวรกายบอบบาง สังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลงมาถึงพระอุทร ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่มีกลีบบัวขนาดใหญ่และปลายกลีบบัวอ่อนโค้ง มีการบรรจุ พระสมเด็จจิตรลดาซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสร้างด้วยพระองค์เองประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์จากทั่วราชอาณาจักร |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธนวราชบพิตรขึ้นโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับพระพุทธลักษณะด้วยพระองค์เอง และพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพฯ โดยประดิษฐาน ณ ศาลากลางประจำจังหวัด พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ที่บัวฐานด้านหน้าบรรจุพระพิมพ์ “พระสมเด็จจิตรลดา” ไว้อีกองค์หนึ่ง |
ข้อสังเกตอื่นๆ | แม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีลักษณะโดยรวมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะสุโขทัยก็ตาม แต่ช่างก็ได้มีการปรับแบบโดยมีการเพิ่มการแสดงสีพระพักตร์ รวมไปถึงฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ปรากฏในศิลปะสุโขทัยและแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากพระพุทธรูปในสมัยก่อนๆ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระพุทธกาญจนธรรมสถิต วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก พระพุทธรูปอีกองค์ที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แสดงพุทธศิลป์แบบกึ่งสมจริงตามที่พุทธศิลป์แบบรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 2. พระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม การจำลองพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยมาสร้างเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์และกลายเป็นรูปแบบพระพุทธรูปที่เป็นที่นิยมในสมัยต่อมา 3. พระพุทธนวราชบพิตรนี้ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 9 แสดงถึงนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน และแสดงถึงความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร 4. องค์พระพิมพ์ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้มีองค์ประกอบจากผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆทั้งในพระองค์ เช่น เส้นพระเจ้า และจากจังหวัดต่างๆ ในราชอาณาจักร เช่น เปลวทองจากหลักเมือง เป็นต้น |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-03-27 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2546. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. “พระพุทธนวราชบพิตร.” ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 12, ฉบับที่ 2 (ธ.ค. 2533): 26 – 30. |