ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาสนวิหารอัสสัมชัญ
คำสำคัญ : อาสนวิหารอัสสัมชัญ, โบสถ์อัสสัมชัญ, มิสซัง
ชื่อเรียกอื่น | โบสถ์อัสสัมชัญ |
---|---|
ชื่อหลัก | อาสนวิหารอัสสัมชัญ |
ชื่ออื่น | โบสถ์อัสสัมชัญ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | บางรัก |
อำเภอ | เขตบางรัก |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.723173 Long : 100.514766 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 663791.68 N : 1517624.69 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กึ่งกลางอาราม |
ประวัติการสร้าง | อาสนวิหารอัสสัมชัญก่อสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2352 โดยบาทหลวงปาสกัล แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2364 และได้รับสถาปนาเป็นอาสนวิหารในเวลาต่อมา ก่อนจะมีการสร้างโบสถ์หลังใหม่ในปี พ.ศ. 2452 เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสศาสนิกชน โดยใช้สถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ โบสถ์หลังนี้ได้รับความเสียหายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนจะมีการบูรณะในเวลาต่อมา |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐฉาบปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ขนาด | 28.40 x 57.40 เมตร สูง 32 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | โบสถ์อัสสัมชัญนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยหันแท่นบูชาสู่แม่น้ำ ตัวโบสถ์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืมผ้า ตัวอาคารสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ ด้านหน้ามีหลังคาทรงจั่ว มีหน้าต่างกลมลายกลีบดอกไม้(Rose Window) ขนาดใหญ่ขนาบสองข้างด้วยหอคอยทรงสี่เหลี่ยม ผนังด้านข้างมีเสาอิงเลียนแบบเสายัน(Buttress) ด้านหลังเป็นผนังโค้งหลังคาทรงกรวยผ่าครึ่ง ภายในมีการแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วนคือระเบียงโล่งด้านหน้า โถงชุมนุมใหญ่ มีเฉลียงด้านข้าง และส่วนศักดิ์สิทธิ์ด้านในอันเป็นที่ตั้งของพระแท่นหินอ่อนขนาดใหญ่ ด้านหลังมีการเจาะหน้าต่างให้แสงเข้า ตกแต่งหน้าต่างด้วยกระจกเคลือบสีต่อด้วยรูปนักบุญ เพดานโค้งทรงประทุนเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสติดดาวสีทอง หัวเสาเป็นแบบไอโอนิคผสมโครินเธียน ตกแต่งภายในด้วยจิตรกรรมปูนเปียกและประติมากรรมปูนปั้น ส่วนโถงทางเข้ามีการชั้นลอยสำหรับนักขับร้องและออร์แกนขนาดใหญ่ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | อาสนวิหารอัสสัมชัญเป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และเป็นที่พำนักของบรรดามุขนายกผู้เป็นประมุขมิสซังสยามในอดีต ทั้งยังเป็นศูนย์กลางของชุมชนคริสต์ศาสนิกชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงในย่านบางรัก นับเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทย ในปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนอาสนวิหารแห่งนี้ด้วย |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. โบสถ์แห่งนี้ถือเป็นอาคารที่สร้างอย่างประณีตและใหญ่โตสมกับการเป็นศูนย์กลางการปกครองของคณะสงฆ์โรมันคาทอลิกของสยาม 2. แม้รูปแบบโดยรวมจะเป็นแบบเรเนสซองส์แต่ก็มีการผสมผสานหลากหลายศิลปะทั้งโรมาเนสก์ โกธิคและคลาสสิคเข้าด้วยกัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | คริสต์ |
ลัทธิ/นิกาย | โรมันคาธอลิค |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | โบสถ์นอเตรอะดามแห่งไซง่อน (Saigon Notre-Dame Basilica) โบสถ์คริสต์ในเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนามที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2438 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายกับโบสถ์อัสสัมชัญ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-01-21 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. เสาวลักษณ์ พงษธา โปษยะนันท์ และคณะ. 174 มรดกสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2547. วิไลรัตน์ ยังรอต, ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้ : เที่ยววัดกรุงเทพฯ วัดพุทธ โบสถ์คริสต์ มัสยิดอิสลาม พราหมณ์ ฮินดู สิข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2548. บังสูรย์. อาสนวิหารอัสสัมชัญกรุงเทพ. สยามอารยะ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 24 (ธ.ค. 2537), 119 – 123. |