ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โบสถ์ซางตาครู้ส
คำสำคัญ :
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดซางตาครู้ส |
ชื่ออื่น | วัดกุฎีจีน |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | วัดกัลยาณ์ |
อำเภอ | เขตธนบุรี |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.739091 Long : 100.493887 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661522.72 N : 1519371.57 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับวัดกัลยาณมิตร |
ประวัติการสร้าง | โบสถ์ซางตาครู้สเป็นวัดของชุมชนชาวคริสต์เชื้อสายโปรตุเกส สร้างบนพื้นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชประทานให้แก่คุณพ่อกอรร์ในปี พ.ศ. 2312 โบสถ์หลังปัจจุบันเป็นโบสถ์หลังที่ 3 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2456 โดยบาทหลวงกูเลียลโม กิ๊น ดาครู๊ส เพื่อแทนโบสถ์หลังเดิมที่ผุพังไป โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2456 โบสถ์หลังนี้สร้างเสร็จและทำพิธีเสกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2459 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐฉาบปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | โบสถ์หลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 ในวาระ 60 ปี โบสถ์ซางตาครู้ส |
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | โบสถ์วัดซางตาครู้สหันหน้าลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผังของโบสถ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีด้านสกัดหลังเป็นรูปหกเหลี่ยม อาคารเป็นสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูเรเนซองส์(Renaissance Revival) หลังคาไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีช่องประตู 3 ช่อง หลังคาประตูโค้ง มีการตกแต่งด้วยหน้าต่างกลมลายกลีบดอกไม้ (Rose Window) ตรงกลางมีหอระฆังสูงยอดโดมเป็นรูปไข่ ด้านบนสุดเป็นไม้กางเขน ด้านสกัดหลังเป็นรูปหกเหลี่ยมหลังคาปั้นหยามุงกระเบื้อง ภายในมีฝ้าเพดานทรงประทุนบรรจุลายดาวเพดานในช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านในเป็นที่ตั้งไม้กางเขน ด้านหลังเป็นซุ้มหลังคาทรงจั่วแบบคลาสสิตกแต่งด้วยปูนปั้นแบบคอรินเธียน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | โบสถ์ซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินบริเวณนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมต่อต้านศึกสงครามกับพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารหลังแรกด้วยไม้ทั้งหมด ต่อมาได้ก่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 |
ข้อสังเกตอื่นๆ | โบสถ์แห่งนี้มีพระแท่นที่ไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอย่างที่ควรจะเป็น แต่หันไปยังทิศเหนือ คือ แม่น้ำเจ้าพระยาตามอย่างวัดไทยที่สร้างติดกับแม่น้ำ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | คริสต์ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. มหาวิหารเมืองฟลอเรนซ์ (Santa Maria del Fiore) โบสถ์ในอิตาลีซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายกับโบสถ์ซางตาครู้ส หลังปัจจุบัน 2. โบสถ์แห่งนี้มีหอระฆังการีย็อง ซึ่งประกอบด้วยระฆังชุด 16 ใบที่ยังครบสมบูรณ์ซึ่งหาได้ยากแล้วในปัจจุบัน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-01-21 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. เสาวลักษณ์ พงษธา โปษยะนันท์ และคณะ. 174 มรดกสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2547. วิไลรัตน์ ยังรอต, ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้ : เที่ยววัดกรุงเทพฯ วัดพุทธ โบสถ์คริสต์ มัสยิดอิสลาม พราหมณ์ ฮินดู สิข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2548. |