ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

คำสำคัญ : ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ชื่อหลักBKK.AR.0027 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลคลองเตย
อำเภอเขตคลองเตย
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.724065
Long : 100.558633
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 668535.45
N : 1517753.56
ตำแหน่งงานศิลปะริมถนนรัชดาภิเษก

ประวัติการสร้าง

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นี้สร้างขึ้นภายใต้มติของรัฐบาลไทยเพื่อให้เป็นสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลในปี พ.ศ. 2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์บนพื้นที่ 20 เอเคอร์ติดกับโรงงานยาสูบเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 และแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2534 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์การประชุมนี้และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระนามาภิไธยเป็นชื่อของศูนย์การประชุมนี้ เนื่องในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ

กระบวนการสร้าง/ผลิต

-

ประวัติการอนุรักษ์

-

ขนาด-
ลักษณะทางศิลปกรรม

รูปแบบสถาปัตยกรรมของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นี้ ใช้การวางผังแบบหมู่เรือนไทยโดยมีห้องประชุมใหญ่อยู่ตรงกลาง ตัวอาคารเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูหลังคาปลายตัด ด้านหน้ามีทางเข้าทำเป็นจั่วสามเหลี่ยมซ้อนกัน ภายในมีการแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ การออกแบบภายในใช้เอกลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ เป็นแนวความคิดในการออกแบบ ได้แก่ โถงอเนกประสงค์ใช้รูปแบบของภาคเหนือ ลานอเนกประสงค์ใช้รูปแบบของภาคใต้ โถงต้อนรับใช้รูปแบบของภาคอีสาน และภัตตาคาร ร้านอาหารใช้รูปแบบของภาคกลาง

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นอาคารสมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบเพื่อจัดการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และได้เป็นสถานที่จัดการประชุมที่สำคัญของชาติอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา

ข้อสังเกตอื่นๆ

-

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 26
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง-
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

-

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาคารทรงไทยประยุกต์อีกแห่งที่มีการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมผสานกับเทคนิคและวัสดุอย่างใหม่

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-02-28
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
บรรณานุกรม

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง, 2534

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง, 2534

“ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์การประชุมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์” MICE Magazine. ปืที่ 12, ฉบับที่ 18 (มิ.ย. 2547): 34 – 37.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ. พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2536.