ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศาลาเฉลิมกรุง

คำสำคัญ : ศาลาเฉลิมกรุง, โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง, โรงหนังเฉลิมกรุง, พระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 7

ชื่อเรียกอื่นโรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง, โรงหนังเฉลิมกรุง
ชื่อหลักศาลาเฉลิมกรุง
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลวังบูรพาภิรมย์
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.746654
Long : 100.500002
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 662178.85
N : 1520212.34
ตำแหน่งงานศิลปะริมถนนเจริญกรุง

ประวัติการสร้าง

ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงภาพยนตร์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกรุงเทพมหานครครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 ในโอกาสเดียวกับการสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้า สร้างบนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งบ่อน้ำบาดาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 9 ล้านบาทในการสร้าง มีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากรเป็นสถาปนิก อาจารย์นารท โพธิประสาทเป็นผู้คำนวณโครงสร้าง เริ่มก่อสร้างในปีพ.ศ. 2473 แล้วเสร็จพร้อมมีพิธีเปิดฉายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476

กระบวนการสร้าง/ผลิต

คอนกรีตเสริมเหล็กฉาบปูนเรียบ

ประวัติการอนุรักษ์

-

ขนาด-
ลักษณะทางศิลปกรรม

ศาลาเฉลิมกรุงมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัดมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ตัวอาคารเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงสูง 3 และ 4 ชั้น มีทางเข้า 3 ช่อง มีการเจาะช่องหน้าต่างที่มีขนาดแตกต่างกันตามหน้าที่การใช้งาน มีลวดลายฉลุลายไทยประยุกต์แบบเรขาคณิตเป็นรูปหัวลิง ยักษ์ และฤๅษี ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือโถงหน้าและโรงหนัง ตกแต่งแบบเรียบง่ายด้วยลายไทยประยุกต์ และรูปเทวดาขนาดใหญ่ ภายในโรงภาพยนตร์มีเพดานสูง 15 เมตร ที่นั่งผู้ชมลดหลั่นตามขั้นบันได

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นในคราวฉลองกรุงเทพมหานครครบ 150 ปี พระราชทานนามว่า ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น และเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ

ข้อสังเกตอื่นๆ

-

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุปลายพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง-
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

-

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์แบบโมเดิร์นอีกแห่งที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับศาลาเฉลิมกรุง ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว

2. โรงหนังเฉลิมธานี หรือโรงหนังนางเลิ้ง โรงหนังแบบดั้งเดิมไม่กี่แห่งที่ยังหลงเหลือตัวอาคารอยู่ในปัจจุบัน

3. ที่มาของชื่อ “เฉลิมกรุง” นี้มีที่มาจากมูลเหตุในการสร้างเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 150 กรุงเทพมหานคร และยังพ้องกับนามของสถาปนิกผู้ออกแบบ คือ หม่อมเจ้าเฉลิม กฤดากรด้วย

4. ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศแบบ Chilled Water System ซึ่งเป็นระบบไอน้ำรุ่นแรกจากสหรัฐอเมริกา

5. ภาพยนตร์ที่ฉายเป็นปฐมฤกษ์ที่ศาลาเฉลิมกรุงคือ มหาภัยใต้ทะเล


รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-01-24
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมางกูร “ย้อนรำลึก 70 ปี ศาลาเฉลิมกรุง” สารคดี. ปีที่ 19, ฉบับที่ 222 (สิงหาคม 2546), 140 – 146.

ธนาทิพ ฉัตรภูมิ. ตำนานโรงหนัง. กรุงเทพฯ: เวลาดี, 2547.

เสาวลักษณ์ พงษธา โปษยะนันท์ และคณะ. 174 มรดกสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2547.